เทศบาลตำบลโนนสะอาด จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 โดยยกฐานะจากสุขาภิบาลโนนสะอาดเป็นเทศบาลตำบลโนนสะอาด เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 สำนักงานที่ตั้งอยู่เลขที่ 444 หมู่ที่ 2 ถนนศรัทธาธรรม ตำบลโนนสะอาด อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดอุดรธานีไปตามเส้นทาง ถนนอุดรธานี-ขอนแก่น เป็นระยะทาง 53 กิโลเมตร
ขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
เทศบาลตำบลโนนสะอาด มีพื้นที่ 4.70 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบผสมกับลูกคลื่นลาดชันเล็กน้อย ตอนกลางมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200– 300 เมตร ในเขตพื้นที่ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน มีเพียงลำห้วยซึ่งมีสภาพตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี อย่างไรก็ตามเทศบาลตำบลโนนสะอาดยังมีอ่างเก็บน้ำหนองโสกรังซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทศบาล เป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของชาวเทศบาลตำบลโนนสะอาดได้ตลอดปี ทั้งการใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร การทำน้ำประปา โดยอ่างเก็บน้ำหนองโสกรังสามารถกักเก็บน้ำได้ 590,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลตำบลโนนสะอาดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโพธิ์ศรีสำราญ ซึ่งประชาชนได้เข้าใช้พื้นที่เพื่อทำประโยชน์ในการประกอบอาชีพ ทำนา ปลูกอ้อย ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและหินลูกรัง ชั้นล่างเป็นดินดานไม่เก็บน้ำไม่อุ้มน้ำ
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอกุมภวาปีและอำเภอหนองแสง
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอศรีธาตุ
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอหนองแสง
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอเขาสวนกวาง
ลักษณะภูมิอากาศ เทศบาลตำบลโนนสะอาด ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจึงมีลักษณะภูมิอากาศแบบเมืองร้อน ซึ่งสามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน
2. ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม
3. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนมกราคม
เขตการปกครอง เทศบาลตำบลโนนสะอาดตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลโนนสะอาด โดยมีพื้นที่ 4.70 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 5 หมู่บ้าน ซึ่งแยกเป็นชุมชนทั้งสิ้น 8 ชุมชน ดังตารางที่ 3
ความเป็นมาของเทศบาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงด้าเนินการจัดระบบปกครองท้องถิ่นต่อเนื่องโดยทรงจัดให้มีการปกครองตนเองแนนเทศบาลขึ้นในบริเวณวังพญาไทเมื่อปีพ. 2461 โดยโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่าพุสตธานี” ซึ่งเป็นรูปแบบทดลองการปกครองท้องกันต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงจัดตั้งคณะกรรมการจัดการประชาภิบาล (AMunicipality) ขึ้นในปีพ. ศ. 2470 ซึ่งทำหน้าที่ศึกษาดูงานกิจการสุขาบาลพมหวเมืองต่าง ๆ ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำรายงานประกอบการพิจารณาจัดตั้งการประชาภิบาลหรือเทศบาลจนกระทั่งปีพ. ศ. 2476 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาลพุทธศักราช 2476 ขึ้นซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารตนเองของเทศบาลต่อมาในปีพ. ศ. 2478 ได้มีการจัดตั้งเทศบาลเป็นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาลพ. ศ. 2476 โดยการยกฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เต็ม 35 แห่งขึ้นเป็นเทศบาลและได้มีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวอยู่เป็นระยะเช่นในปีพ. ศ. 2481 และพ. ศ. 2496 ได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาลพ. ศ. 2496 ขึ้นแทนกฎหมายเดิมทั้งหมดและได้มีการแก้ไขหลายครั้งครั้งที่สำคัญคือการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ. ร. บ.) เทศบาลพ. ศ. 2556 โดยพ. ร. บ. เทศบาล (ฉบับที่ 10) พ. ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ. ศ. 2540 แตะปรับปรุงแก้ไขพ. ร. บ. เทศบาลพ. ศ. 2496 (ฉบับที่ 11) พ. ศ. 2543 มีหลักการที่สำคัญคือการแก้ใขโครงสร้างเทศบาลให้ประกอบด้วยสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรีตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาลพ. ร. บ. เทศบาลพ. ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ. ศ. 2516 ได้กำหนดให้องค์กรเทศบาลประกอบด้วยสภาเทศบาลกับนายกเทศมนตรีเท่านั้นซึ่งนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสนาาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นพ. ศ. 2545 จนถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ. ศ. 2554) และในปัจจุบันพ. ร. บ. เทศบาลพ. ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13)พ. ศ. 2552